วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

การสูญเสียกำลังในมอเตอร์


มอเตอร์จะมีการสูญเสียกำลังโดยแยกย่อยเป็นส่วนๆดังนี้

1. การสูญเสียในขดลวดทองแดงที่สเตเตอร์ ( Stator copper losses )
จะเกิดการสูญเสียในรูปของความร้อนเนื่องจากกระแสไหลในขอลวดทองแดงที่มีความต้านทานอยู่ภายใน

2. การสูญเสียในแกนเหล็ก ( Core losses หรือ iron losses )
ที่สเตเตอร์เนื่องจากมีเส้นแรงแม่เหล็กตัดกับแกนเหล็ก จะทำให้เกิดกระแสไหลวนอยู่ในแกนเหล็กเป็นการสูญเสียที่เรียกว่า Eddy current loss และการเปลี่ยนทิศทางสนามแม่เหล็ก 50 ไซเคิลต่อวินาทีเกิดการสูญเปล่าที่เรียกว่า Hysteresis loss

3. การสูญเสียที่โรเตอร์ ( Rotor losses )
เนื่องจากมีกระแสไหลในตัวนำที่ฝังไว้ในโรเตอร์ จึงเกิดเป็นความร้อนขึ้นที่โรเตอร์

4. การสูญเสียจากการต้านทานของลมและแรงเสียดทาน ( Windage and Friction losses )
เกิดจากแรงเสียดทานในตลับลูกปืนและแรงต้านของครีบระบายอากาศที่ตัวมอเตอร์

5. การสูญเสียจากสถาวะที่มอเตอร์ขับโหลด ( Stray losses )
เป็นการสูญเสียเมื่อมีการขับเคลื่อนโหลด ซึ่งจะทำให้ความเร็วรอบลดลง ความถี่ของกระแสไหลในขดลวดโรเตอร์สนามแม่เหล็กรั่วไหลขณะขับโหลดจะเปลี่ยนแปลง


สามเหลี่ยมกำลังไฟฟ้า


การใช้งานเครื่องจักรกลไฟฟ้าย่อมเกิดกำลังไฟฟ้าขึ้นในขณะใช้งาน กำลังไฟฟ้าที่เกิดเขียนเป็นรูปแบบได้ดังนี้
1.กำลังไฟฟ้าปรากฏ ( Apparent Power )
         คือกำลังไฟฟ้าปรากฏขึ้นจริงในการจ่ายไฟฟ้าให้เครื่องกลไฟฟ้า ถือเป็น Input การจ่ายจะจ่ายแรงดันและกระแส กำลังไฟฟ้าตัวนี้จึงมีหน่วยเป็น วาร์ หรือ กิโลวาร์ (VAR or kVAR) มีตัวย่อคือ S

2.กำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการทำงาน ( Reactive Power )
          คือกำลังไฟฟ้าที่เครื่องจักรกลไฟฟ้าใช้ในการทำงาน กำลังไฟฟ้าตัวนี้จึงมีหน่วยเป็นโวลต์-แอมแปร์ หรือ กิโลโวลต์แอมแปร์ (VA or kVA) มีตัวย่อคือ Q

3.กำลังไฟฟ้าปรากฏ ( Real Power หรือ True Power )
          คือ กำลังไฟฟ้าที่เราได้รับประโยชน์จริงจากเครื่องจักรกลไฟฟ้า มีหน่วยเป็นวัตต์ หรือ กิโลวัตต์ (W or kW) มีตัวย่อคือ P

กำลังงานทั้งสามสามารถเขียนเป็นสามเหลี่ยมกำลังไฟฟ้าได้ดังรูป