วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สวิตช์ตัดตอนอัตโนมัติ แบบ Thermal-Magnetic

สวิตช์ตัดตอนอัตโนมัติ  หรือทีเรานิยมเรียกกันว่า  เซอร์กิตเบรกเกอร์
คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าในระบบ  ให้มีความปลอดภัยจากกระแสเกินหรือกระแสลัดวงจร

สวิตช์ตัดตอนอัตโนมัติ แบบ Thermal-Magnetic
ซึ่งในแบบนี้จะใช้ความร้อน และสนามแม่เหล็กในการปลดวงจร
              ซึ่งในแบบ Thermal หรือใช้ความร้อนนั้น จะใช้ปลดวงจรในกรณีที่โหลดเกิน ก็คือ
เมื่อกระแสที่เกินไหลผ่าน  Bimetal (เป็นโลหะ 2 ชนิดที่มีสัมประสิทธ์ทางความร้อนไม่เท่ากัน)
จะเกิดความร้อนขึ้นทำให้แผ่น Bimetal งอตัวไปปลดอุปกรณ์ทางกลทำให้เซอร์กิตเบรกเกอร์
ปลดวงจรออกทันที ซึ่งเราเรียกว่าเซอร์กิตเบรคเกอร์ Trip


                 ส่วนในแบบที่ใช้สนามแม่เหล็กในการปลดวงจรนั้น จะใช้กับกรณีกระแสลัดวงจร
คือ เมื่อมีกระแสไหลเกิดขึ้นสูง ประมาณมากกว่า 8-10 เท่า ขึ้นไปไหลผ่าน จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กและเกิดแรงขึ้น ซึ่งแรงนี้จะไปดึงอุปกรณ์ทางกล ทำให้เซอร์กิตเบรกเกอร์ ปลดวงจร



วันศุกร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2557

โหลดเซ็นเตอร์ Load Center

คือ แผงจ่ายไฟ หรือ ศูนย์กลางการจ่ายโหลด เหมาะสำหรับ บ้านขนาดใหญ่ โรงงานอุตสาหกรรม แผงไฟฟ้าประจำชั้นอาคารสูง มีทั้งแบบมีเมน และแบบไม่มีเมน  โดยมีจำนวนวงจรย่อยเท่ากับ 12, 18, 24, 30, 42





 




วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

การสูญเสียกำลังในมอเตอร์


มอเตอร์จะมีการสูญเสียกำลังโดยแยกย่อยเป็นส่วนๆดังนี้

1. การสูญเสียในขดลวดทองแดงที่สเตเตอร์ ( Stator copper losses )
จะเกิดการสูญเสียในรูปของความร้อนเนื่องจากกระแสไหลในขอลวดทองแดงที่มีความต้านทานอยู่ภายใน

2. การสูญเสียในแกนเหล็ก ( Core losses หรือ iron losses )
ที่สเตเตอร์เนื่องจากมีเส้นแรงแม่เหล็กตัดกับแกนเหล็ก จะทำให้เกิดกระแสไหลวนอยู่ในแกนเหล็กเป็นการสูญเสียที่เรียกว่า Eddy current loss และการเปลี่ยนทิศทางสนามแม่เหล็ก 50 ไซเคิลต่อวินาทีเกิดการสูญเปล่าที่เรียกว่า Hysteresis loss

3. การสูญเสียที่โรเตอร์ ( Rotor losses )
เนื่องจากมีกระแสไหลในตัวนำที่ฝังไว้ในโรเตอร์ จึงเกิดเป็นความร้อนขึ้นที่โรเตอร์

4. การสูญเสียจากการต้านทานของลมและแรงเสียดทาน ( Windage and Friction losses )
เกิดจากแรงเสียดทานในตลับลูกปืนและแรงต้านของครีบระบายอากาศที่ตัวมอเตอร์

5. การสูญเสียจากสถาวะที่มอเตอร์ขับโหลด ( Stray losses )
เป็นการสูญเสียเมื่อมีการขับเคลื่อนโหลด ซึ่งจะทำให้ความเร็วรอบลดลง ความถี่ของกระแสไหลในขดลวดโรเตอร์สนามแม่เหล็กรั่วไหลขณะขับโหลดจะเปลี่ยนแปลง


สามเหลี่ยมกำลังไฟฟ้า


การใช้งานเครื่องจักรกลไฟฟ้าย่อมเกิดกำลังไฟฟ้าขึ้นในขณะใช้งาน กำลังไฟฟ้าที่เกิดเขียนเป็นรูปแบบได้ดังนี้
1.กำลังไฟฟ้าปรากฏ ( Apparent Power )
         คือกำลังไฟฟ้าปรากฏขึ้นจริงในการจ่ายไฟฟ้าให้เครื่องกลไฟฟ้า ถือเป็น Input การจ่ายจะจ่ายแรงดันและกระแส กำลังไฟฟ้าตัวนี้จึงมีหน่วยเป็น วาร์ หรือ กิโลวาร์ (VAR or kVAR) มีตัวย่อคือ S

2.กำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการทำงาน ( Reactive Power )
          คือกำลังไฟฟ้าที่เครื่องจักรกลไฟฟ้าใช้ในการทำงาน กำลังไฟฟ้าตัวนี้จึงมีหน่วยเป็นโวลต์-แอมแปร์ หรือ กิโลโวลต์แอมแปร์ (VA or kVA) มีตัวย่อคือ Q

3.กำลังไฟฟ้าปรากฏ ( Real Power หรือ True Power )
          คือ กำลังไฟฟ้าที่เราได้รับประโยชน์จริงจากเครื่องจักรกลไฟฟ้า มีหน่วยเป็นวัตต์ หรือ กิโลวัตต์ (W or kW) มีตัวย่อคือ P

กำลังงานทั้งสามสามารถเขียนเป็นสามเหลี่ยมกำลังไฟฟ้าได้ดังรูป